วันที่ 28 ธ.ค.67 นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนให้ความรู้ทางกฎหมายกรณีที่ แบงค์ เลสเตอร์ หนุ่มอินฟลูเอนเซอร์ แร็ปขายพวงมาลัยเลี้ยงยาย เสียชีวิตจากการถูกจ้างให้ดื่มเหล้า และมีกระแสข่าวว่าอาจไม่สามารถเอาผิดกับผู้จ้างให้แบงค์ดื่มได้นั้น ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องมาให้ความรู้ทางกฎหมายกันอันดับแรก
เรื่องเเบบนี้มันเคยเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้จําได้หรือไม่ที่เคยมีกรณีให้เด็ก 7 ขวบดื่มเหล้าแล้วต้องเข้าห้องไอซียู หรือมีคดีการแข่งขันดื่มเหล้าแล้วก็ป่วยถึงกับชีวิต กระบวนการตรงนี้อันดับแรกคือถ้ามีการตายที่ผิดธรรมชาติ เจ้าหน้าที่ตํารวจต้องลงมาสอบสวน ต้องไปสอบสวนความจริงว่าความตายนี้เกิดจากอะไร ก็จะมาพิจารณาว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้าเกี่ยวข้องก็แจ้งข้อกล่าวหาตามตัวบทกฎหมาย
นายโกศลวัฒน์ กล่าวต่อว่า ประเด็นคือตํารวจจะต้องสอบไปด้วยความจริงทั้งสองฝ่าย ที่รู้เห็นเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ฝ่ายที่บอกว่าไม่ได้ทํา ไม่ได้ตั้งใจ ก็ต้องมาให้การมาต่อสู้คดี การสอบสวนจะต้องสํานวนแล้วก็สรุปความเห็นว่าเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ในข้อหาอะไร ส่งมาให้อัยการพิจารณา
เรื่องนี้ ถ้ามีการให้ดื่มเหล้าหมดขวด ด้วยประสบการณ์ของนักดื่มหรือความรู้ทั่วๆไปย่อมรู้อยู่แล้วว่าถ้าดื่มเเบบนี้จะมีสิทธิตายหรือไม่ ถ้าบอกว่าไม่ตั้งใจทําร้ายมันก็จะมีข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงเเก่ความตายได้ เช่น คุณไปให้รางวัลเขา ไปชักจูงให้เขาดื่ม ซึ่งตรงนี้ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏชัด
ก็คือหน้าที่พนักงานสอบสวนจะต้องไปสอบสวนให้ได้ความจริง พอสอบสวนได้ความจริงถึงจะมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาจะแจ้งข้อหาอะไร เท่าที่ตนทราบจากสื่อมวลชนว่าผู้ตายมีประวัติว่าเป็นผู้ป่วยทางจิตตั้งแต่เด็ก
ขอถามว่าคนที่เป็นผู้ป่วยเขามีความอ่อนด้อยในการตัดสินใจ อ่อนด้อยในความรู้ในทักษะที่จะป้องกันตนเองหรือไม่ แล้วการที่ไปยุให้เขาดื่ม ไม่ว่าจะจ้างหรือไปเชียร์ หรือไปตบมือเชียร์ มันก็เข้าข่ายทํานองว่าเป็นการประมาททําให้เขาดื่มมากเกินไปจนเป็นเหตุถึงแก่ความตาย
ตรงนี้พนักงานสอบสวนก็จะดูผลการชันสูตรว่า ความตายเกิดจากอะไร เกิดจากการดื่มสุราเกินขนาดหรือไม่ จากนั้นกระบวนการยุติธรรมก็จะเดินไป ฉะนั้นประเด็นตรงนี้ ถ้าใครรู้ความจริงก็ร่วมกับ พนักงานสอบสวนเอาพยานหลักฐานมาให้พนักงานสอบสวนให้เจ้าหน้าที่ได้ทําครับ
“ที่บอกว่าคนเชียร์ก็อาจจะมีความผิดด้วย เพราะถึงไม่ใช่คนจ้าง แต่เราเชียร์เราบอกเก่งสุดยอดเลย ดื่มอีก ดื่มอีก แล้วเชียร์ เขาก็หลงคําเยินยอ เพราะความที่เขามีบัตรรักษาตัวเป็นผู้ป่วยทางจิต พอได้ยินเสียงเชียร์ก็ดื่มจนเป็นเหตุถึงแก่ชีวิต ทั้งคนเชียร์คนจ้างอาจจะโดนข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตายได้
ซึ่งข้อหาประมาทเป็นสาเหตุให้ผู้อื่นถึงเเก่ความตายจําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 ขณะเดียวกันถ้ามีการไปจ้างให้มีการไลฟ์สดกันมันมีกฎหมายควบคุมเรื่องการห้ามโฆษณาสุราอีก เดี๋ยวพนักงานสอบสวนจะไปดูแล้วก็ดําเนินคดีตามกฎหมายนะครับ” นายโกศลวัฒน์ กล่าว
นายโกศลวัฒน์ กล่าวว่า เมื่อแจ้งข้อหาไปแล้ว ก็ต้องไปแก้ตัวไปแต่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนเอามาพิจารณา เมื่อถึงเวลาสอบปากคําทุกคนจะต้องให้ถ้อยคําและสอบสวนจะบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและให้เซ็นชื่อรับผิดชอบแล้วเอาเข้าสู่การพิจารณาสํานวน
ในส่วนที่มีการแชร์คลิปการทําคอนเทนต์กับผู้เสียชีวิตที่ที่เป็นลักษณะการใช้ความรุนแรงการกดขี่ข่มเหง ไม่ว่าเป็นการจับจับผู้เสียหายมัดไว้แล้วก็เอาสเปรย์ฉีดใส่หัวอ้วกใส่หรือมีการทำร้ายร่างกายเตะต่อยสามารถเอาผิดได้หมดเลย การถ่ายคลิปไว้อย่างนี้ดําเนินคดีตามกฎหมายได้ ถ้าเราดูรัฐธรรมนูญแม่บทเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะละเมิดมิได้ เพราะฉะนั้นการที่ไปปฏิบัติต่อเขาเหมือนไม่ใช่คนไปตบศีรษะหรือไปทำให้เขาต้องหมอบคลานหรือนั่งกับพื้นแล้วเอาเท้าไปทําร้าย ถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หลังจากนั้นเรามีข้อหาทําร้ายร่างกายเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ เราอาจจะเห็นว่าแค่ตบศีรษะหรือเอาเท้าไปถีบเขายังไม่เป็นอันตรายแต่เขาอาจจะเป็นอันตรายแก่จิตใจ เพราะฉนั้นถ้ามีการสอบสวนดําเนินคดีหรืออย่างน้อยก็ต้องโดนหลุโทษครับ คือเจตนาทําร้ายแต่ไม่เป็นเหตุให้รับอันตรายแก่การจิตใจ
คดีตามกฎหมายเอาคลิปพวกนี้ไปเป็นหลักฐานดําเนินคดีได้หมด ทั้งข้อหาทําร้ายร่างกายไม่เป็นเหตุให้ร่างกายและจิตใจ หรือทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่จิตใจก็ได้ ถ้ามีการสืบพยานหรือสอบปากคําก็จะได้พฤติการณ์ออกมา
อย่างเรื่องที่มีการให้กินเจลที่ไม่ใช่ของกินได้ ขอให้ความรู้ทางกฎหมายว่า สิ่งที่มันไม่ใช่ของปกติที่คนเรากิน เราเคยเห็นหรือไม่ สมัยก่อนมีคนเชียร์คนวิกลจริตให้ไปกินอึ ใช่อย่างนี้มันก็ผิด เเบบนี้ก็ทํานองเดียวกันถ้าจิตไม่ปกติแล้วไปชี้ให้เขาทําอะไรผิดปกติ คุณคือผู้ที่ทําร้ายเขาเเล้วนะ
หากบอกไม่ตั้งใจก็ต้องมาดูต่อว่าถ้าเเบบนั้น จะพ้นข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่ร่างกายจิตใจ ประมาทเป็นเหตุผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถ้าบอกว่าไม่ตั้งใจประมาทมั้ยเดี๋ยวพนักงานสอบสวนจะสอบสวนให้ด้วยความจริง อย่างที่บอกว่ามีคลิปจับมัดแล้วใส่ไว้ในรถแล้วก็จุดไฟแช็คฉีดสเปรย์ใส่จนเกิดไฟไหม้ก็คือการกักขังหน่วงเหนี่ยวเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ต้องดําเนินคดีด้วย
“ต่อให้เขาจิตไม่ปกติหรือเค้าวิกลจริตคุณไม่มีสิทธิไปทําร้าย ถ้าเราเห็นคนไม่ปกติวิกลจริตและกลัวว่าจะเป็นอันตราย ต้องใช้กฎหมายพรบ.สุขภาพจิต แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ใช้กฎหมายเพื่อเอาคนที่ป่วยทางจิตเเยกออกไป คุณไม่มีสิทธิไปทําร้ายเขาไม่มีสิทธิไปจับเขามัดหรือคุณบอกจะป้องกันไม่ให้เค้าทําร้ายผู้อื่นต้องพอสมควรแก่เหตุ ถ้าไม่มีเหตุว่าจะไปทําร้ายใครแล้วไปมัดเขามันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตรงที่คุณพยายามเอาไฟไปจุดทำร้ายร่างกาย” อธิบดีอัยการ สคช.ระบุ
ในส่วนเรื่องระยะเวลาอายุความคงไม่ต้องห่วงเพราะถ้าพนักงานสอบสวนเจ้าหน้าที่ตํารวจเห็นคลิปแล้วจะดําเนินคดีเขาสอบสวนได้ว่าคลิปถ่ายที่ไหน มีใครอยู่ในภาพในคลิปก็เอาตัวมาสอบ ได้ว่าเป็นวันที่เท่าไหร่พอได้วันที่ชัดเจนก็มาดูว่ายังอยู่ภายในอายุความดําเนินคดีหรือไม่ ถ้าอยู่ในอายุความก็ดําเนินคดีกันตามกฎหมาย ส่วนที่เกรงว่าญาติที่เหลือเป็นคนชราจะไม่มาเเจ้งความ ต้องบอกว่าคดีทำร้ายร่างกายมันเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ควรที่ดําเนินการ และอัยการคุ้มครองสิทธิ์
ขอฝากเตือนนะครับว่าอย่าคึกคะนอง อย่าเห็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นของเล่น อย่าคิดว่าเค้าจิตไม่ปกติหรือเค้าอ่อนด้อย เป็นคนอ่อนแอหรือเป็นกลุ่มเปราะบางแล้วไปข่มเหงรังแก ข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขัง ข้อหาทําร้ายร่างกายมีอยู่ ข้อหาเหล่าไว้คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญใครทำจะต้องถูกดําเนินคดี
ในส่วนอัยการ สคช.หากพนักงานสอบสวนมีการดําเนินคดีเราจะส่งเอกสารให้คุณย่าของผู้ตาย เพื่อเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 44/1 โดยที่ยังไม่ต้องไปดําเนินคดีแพ่ง เพื่อให้เค้าชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าอยากจะบรรเทาผลร้ายเยียวยาอะไรมาหาเรา เราจะแนะนําให้ทํา แนะนําให้ชดใช้เยียวยาเพื่อจะได้เอาไปใช้แถลงศาลได้