เป็นโพสต์ที่ถูกแชร์ในโลกโซเชียล จากผู้ใช้เฟสบุ๊คหนึ่ง ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและได้พยายามฆ่าตัวตายมาหลายครั้งและล่าสุดก็ได้พยายามใช้มีดกรีดแขนตัวเองเพื่อฆ่าตัวตายอีก แต่ไม่สำเร็จ เจ้าตัวจึงได้โพสต์ภาพตัวเองที่เปื้อนเลือดและสภาพห้องที่เต็มไปด้วยเลือด พร้อมกับข้อความเพื่อบอกให้สังคมได้รับรู้ถึงผลของการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าดังนี้
“จากคนซึมเศร้าคนนึงเราอยากจะบอกให้ทุกคนเข้าใจ หลายๆคนบอกว่าเราเรียกร้องความสนใจ เป็นคนประสาทเป็นบ้าจะมาอยู่กับใครได้ ถ้อยคำพูดเพียงเล็กน้อยมันทำให้คนอย่างเราดาวน์ถึงที่สุด เราเคยฆ่าตัวตายมาแล้ว3ครั้งและคิดว่าจะไม่ทำอีกจนวันนี้ไม่รู้เราหยุดยาเองหายไป1ปีเปลี่ยนหมอรักษาใหม่ผลข้างเคียงยาเรา เบลลอยเหมือนไม่มีสติ เราเครียดหลายเรื่องเราอยากได้คนรับฟังไม่ได้อยากได้ข้อเสนอ เจ็บที่สุดคือคนใกล้ตัวไม่เข้าใจหาว่าเรา เรียกร้องความสนใจ มีช่วงนึงๆไม่อยากออกไปไหนไม่อยากเรียนหาแต่เพื่อนอยากหัวเราะกลับมาเศร้านั่งเงียบอารมณ์รุนแรงจนเป็นไบโพล่าร์ไปเลย เราพยามทำให้ทุกคนมีความสุข หัวเราะจะได้มีความสุข ไม่ต้อง เหมือนกับ เรา เราเก็บทุกคำพูดมาคิดเล็กๆน้อยในใจจนมันระเบิดออกมาแล้วเรื่องทุกเรื่องที่เราะสมในใจมันทำให้เรากลายเป็นคนก้าวร้าวอารมณ์รุนแรงเหมือนคน2บุคลิก”
อาการของโรคซึมเศร้าและความรุนแรงที่เกิดกับผู้ป่วยแต่ละรายนั้นแตกต่างกันออกไป บางคนอาจแสดงอาการเศร้า เบื่อ เหงาผิดปกติ แสดงอาการเพียงไม่กี่อย่าง ในขณะที่บางคนแสดงหลายอาการร่วมกัน บางคนอาจรุนแรงถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย และแม้จะถูกเรียว่าโรคซึมเศร้า แต่ผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าตรง ๆ ก็ได้ โดยอาการของโรคซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้น
ด้านจิตใจและอารมณ์
1.รู้สึกหดหู่ เศร้า ตลอดเวลา
2.รู้สึกสิ้นหวัง ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองไม่ไหว
3.มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตนไร้ค่า โดดเดี่ยว และมีความรู้สึกผิด
4.ขาดสมาธิในการจดจ่อ จดจำ หรือการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
5.กระสับกระส่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
6.มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง
ด้านร่างกาย
1.เคลื่อนไหวหรือพูดจาช้ากว่าปกติ
2.รู้สึกอ่อนล้า เอื่อยเฉื่อย เหนื่อยตลอดเวลา
3.อาจรู้สึกอยากอาหารหรือไม่อยากอาหารก็ได้ น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
4.ท้องผูก
5.นอนหลับยาก ตื่นเช้า หรือนอนนานกว่าปกติ
6.เจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
7.รอบเดือนผิดปกติ
8.ความสนใจเรื่องเพศลดลง
ด้านพฤติกรรม
1.ทำงานได้ไม่ดีหรือไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม
2.เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อยลง แยกตัว ไม่ค่อยออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน