เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยโบราณ จะให้ความสำคัญการถวายน้ำอภิเษก พูดภาษาชาวบ้าน คือ “การรดน้ำ” คำใดก็ตามที่ผสมด้วยคำว่า “อภิเษก” จะมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำทั้งสิ้น

ขั้นตอนสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น อยู่ที่การสรงมรุธาภิเษก คือ ทรงรับน้ำอภิเษกเหนือพระเศียรโดยพระราชครูพราหมณ์ คำว่า “มุรธาภิเษก” มาจาก มุรธ + อภิเษก คำว่า “มุรธ” ซึ่งหมายถึง หัวหรือยอด และคำว่า “อภิเษก” ซึ่งหมายถึง การทำพิธีรดนํ้า

ในสมัยโบราณถือว่า มงกุฎมีค่าสำคัญเท่ากับราชกกุธภัณฑ์อื่น ๆ และพระมหาเศวตฉัตรเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุด ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาแล้ว ก็เพียงทรงวางไว้ข้างพระองค์เท่านั้น

ครั้นถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีกับประเทศยุโรป เมื่อพระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงทรงรับธรรมเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎอย่างราชสำนักยุโรปมาด้วย

รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หามาจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า “พระมหาวิเชียรมณี”

ความสำคัญของพระมหาพิชัยมงกุฎก็เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเสมอด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ดังจะเห็นจากตราต่างๆ ที่ผูกขึ้นล้วนมีพระมหาพิชัยมงกุฎเสมอ

และต่อมาธรรมเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ กลายเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาถึงปัจจุบัน เมื่อพระมหากษัตริย์ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะต้องทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎบนพระที่นั่งภัทรบิฐในวาระนั้น เพื่อแสดงความเป็นกษัตริย์ตามอย่างที่ฝรั่งเข้าใจ