เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

“พระพุทธรักขิตะ” ภิกษุผิวสีรูปแรก ที่นำพระพุทธศาสนา ให้เบ่งบานสวยงามในดินแดนแอฟริกา

อีกหนึ่งเรื่องราวน่านับถือจากด้าน เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา สีผิว ที่อุบัติขึ้นมาในอดีตมาแสนนาน การกีด

กันแบบต้องขีดเส้นแบ่งกันอยู่ ที่พัฒนาต่อยอดไปเป็นความเคียดแค้นชิงชัง ถึงขั้นประหัตประหารกันตายไป

นับร้อยล้านคน แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ที่จะตั้งกติกา รู้จักการแบ่งปัน มนุษย์เริ่มที่จะ

มีความเป็นอารยะ หาหนทางที่จะอยู่ด้วยกันให้ได้บนความแตกต่าง ทำให้สังคมบางหมู่เหล่าสงบสุขด้วยตัว

ของมันเอง มากบ้าง น้อยบ้าง

สำหรับพระยูกันดา” พระภิกษุผิวสีจากประเทศยูกันดาที่นำพุทธศาสนาจากประเทศไทย ไปเผยแผ่ในทวีป

แอฟริกาใต้

จากที่มีข่าวกันไปเรื่องของ นายจูเลียน ดีซิเลต หรือ “พระจูเลี่ยน” ชาวแคนาดาที่เข้ามาบวช ใต้ร่มพระ

พุทธศาสนาในประเทศไทยไปนั้น สำหรับอีกหนึ่งรูปก็คือ “พระพุทธรักขิตะ” ในภาษาบาลีซึ่งมีความหมายว่า

“ผู้ปกปักษ์รักษาพระพุทธเจ้า” ภิกษุผิวสี จากประเทศยูกันดา ที่เลือกเดินทางตามรอยพุทธศาสนาและเผย

แผ่ธรรมในทวีปแอฟริกา

จากที่มีข่าวกันไปเรื่องของ นายจูเลียน ดีซิเลต หรือ “พระจูเลี่ยน” ชาวแคนาดาที่เข้ามาบวช ใต้ร่มพระ

พุทธศาสนาในประเทศไทยไปนั้น สำหรับอีกหนึ่งรูปก็คือ “พระพุทธรักขิตะ” ในภาษาบาลีซึ่งมีความหมายว่า

“ผู้ปกปักษ์รักษาพระพุทธเจ้า” ภิกษุผิวสี จากประเทศยูกันดา ที่เลือกเดินทางตามรอยพุทธศาสนาและเผย

แผ่ธรรมในทวีปแอฟริกา

ในทวีปแอฟริกา ศาสนาพุทธไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักผ่านหนังสือเรียนเท่านั้น ที่จะทราบ

กันอย่างผิวเผินเพียงว่า มีศาสนาพุทธอยู่ เมื่อนายสตีเว่น เติบโตขึ้นเขาได้ศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจที่มหา

วิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย และแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ท่านมีเพื่อนร่วมชั้นเป็น พระสงฆ์สองรูปจาก

ประเทศไทยของเราเอง นั่นทำให้ท่านได้ทำความรู้จักกับพระพุทธศาสนาไปทีละเล็กละน้อยหลังจากนั้นเป็น

ต้นมา ท่านไม่เคยละความพยายามที่จะศึกษาพุทธศาสนา ท่านเดินทางไปธิเบตอยู่บ่อยครั้ง เพื่อไปฟังเทศน์

จากองค์ดาไลลามะ

จากนั้นไม่นานท่านก็ตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย นายสตีเว่น มาอาศัยอยู่ที่เกาะเต่าเพื่อเป็นครูสอน

ดำน้ำพร้อมทั้งศึกษาธรรมะไปด้วย ช่วงเวลานั้น ท่านเล่าว่า ท่านคิดว่าตนเองมีความสุขมาก เพราะรายได้ค่อน

ข้างดี และได้พบปะผู้คนมามากมายจากทั่วโลก แต่แล้ววันหนึ่งความสุขได้กลับกลายเป็นความน่าเบื่อ ท่าน

พบว่าท่านไม่อาจหาความสุขได้จากเงินทองได้อีกต่อไป

ตัดสินใจกลับบ้าน หลังจากออกจากบ้านมานานกว่า 7 ปี ภาพของนักธุรกิจอย่างที่คนในครอบครัวคาดหวัง

ไม่ได้ปรากฏ กลับเป็นภาพของชายหนุ่มผู้กลับบ้านไปพร้อมเครื่องมือดำน้ำ และหนังสือธรรมะอีกหลายเล่ม

ญาติๆของท่านรับไม่ได้กับภาพดังกล่าว พวกเขาถึงขั้นพูดคุยกันว่า จะเผาหนังสือธรรมะที่ท่านนำกลับไป เพื่อ

ให้ท่านกลับมานับถือศาสนาคริสต์อีกครั้ง

และการตัดสินใจครั้งใหญ่ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อท่านได้ออกเดินทางไปยังอเมริกา เพื่อไปศึกษาธรรมะใน

ศูนย์ปฏิบัติธรรม ท่านศึกษาอยู่หลายต่อหลายปี จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2001 ท่านเดินทางไปยังศูนย์ปฏิบัติวิ

ปัสสนาตถาคต (Tathagata) ทีเอ็มซี – TMC – Tathagata Meditation Centre ในเมืองซาน โฮเซ่ (San

Jose) รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ถึงแม้ว่าที่แห่งนี้จะเป็นเพียงศูนย์ปฏิบัติธรรมเล็กๆ ก็ตาม เพื่อพบกับท่าน

ปัณณาธิภา (Pannadipa) และขอบวชกับท่านในทันที ทั้งๆที่ไม่เคยทราบถึงพิธีการขอบวชมาก่อน ท่านปัณณา

ธิภา (Pannadipa) ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การ บวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่ทีเอ็มซี ซาน

โฮเซ่ แคลิฟอเนียร์ ในปี ค.ศ.2002 โดยอาจารย์ของท่านคือ ท่านซายๅดอว์ ยู สิละนันทะ

เมื่อท่านศึกษาธรรมะจนถึงระดับหนึ่ง ท่านได้ตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่า จะต้องกลับไปเผยแผ่พระพุทธ

ศาสนาที่ยูกันดาให้จงได้ และเรื่องราวแห่งความยากลำบากก็เริ่มต้นขึ้น

ผู้คนในละแวกต่างมองท่านด้วยความคลางแคลงใจ บ้างก็ว่าท่านถูกมนต์ดำ บ้างก็ว่าท่านวิกลจริต บางครั้ง

เด็กๆ ก็ร้องไห้จ้า ด้วยความตกใจ บ้างก็เห็นบาตรของท่านเป็นเครื่องดนตรี เดินมาตีบ้าง จนเป็นที่ตลกขบขัน

แต่ด้วยวัตรปฏิบัติของท่านที่เรียบง่าย และงดงาม ไม่เคยถือโทษโกรธผู้ใด แต่ไขข้อสงสัยให้แก่ผู้ที่เข้ามาตั้ง

คำถามอย่างใจเย็น จนเป็นที่น่าประทับใจ ทำให้ผู้คนที่นั่นเปิดใจให้กับท่านมากขึ้น อีกทั้งยังพอมีร้านอาหาร

ไทยในละแวก ท่านจึงมีผู้นำภัตราหารมาถวาย ได้โดยไม่ติดขัด

แต่มาวันนี้ศูนย์พระพุทธศาสนาในยูกันดาได้รับการสถาปนา ในนาม Uganda Buddhist Centre – UBC

ได้รับการสถาปนาตั้งแต่ปี 2005 ซึ่ง “ภิกษุพุทธรักขิตะ” ได้กล่าวว่า

“เมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้ถูกปลูกฝังลงในยูกันดาเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เป็นเวลาแห่ง

การดูแลให้เติบใหญ่ หวังว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีประโยชน์นี้จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเติบโตอย่างแข็งแรง

แผ่ขยายไพศาลเป็นผลไม้แห่งประโยชน์ของสัตว์โลกทั้งปวง”