เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ศ.ดร.สุชาติ​ ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับ เงินเยียวยา จากรัฐบาลในทุกโครงการที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 โดยระบุว่า ”มีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน”

1. รัฐบาลไทยใช้ เงินเยียวยา จำนวนมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.4% ของผลผลิตของชาติ​ (GDP) เพื่อแก้วิกฤติโรคระบาดโควิด19 โดยเป็นเงินกู้ถึง 1 ล้านล้านบาท ประชาชนไทยทุกคน ต้องร่วมกันเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเก็บภาษีในอนาคตมาใช้คืน

2. รัฐบาลมีเป้าหมายกู้เงิน เพื่อมาชดเชย เป็น เงินเยียวยา ประชาชน 600,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท​

3. วิธีการจ่าย เงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน ของรัฐบาล มีเงื่อนไขยุ่งยากมาก ชดเชยประชาชนแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่น การให้ประชาชนที่ค้าขายทำงานเอง​ และแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 28 ล้านคน เดิมรัฐบาลจะให้ 9 ล้านคน แต่หลังๆ มานี้ รัฐบาลได้เพิ่มผู้มีสิทธิเป็น 14 ล้านคน แล้วก็เพิ่มเป็น 16 ล้านคน เนื่องจากเงื่อนไขมาก จึงเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล ในขณะที่ประชาชนไม่มีรายได้ไม่มีกิน

4. การชดเชยแรงงาน ในระบบประกันสังคมก็ยิ่งยุ่งยากใหญ่ ล่าช้าและไม่เท่าเทียม

5. การชดเชยเกษตรกร หรือเงิน เยียวยาเกษตรกร กลับชดเชยให้เป็นต่อครอบครัว ซึ่งลักลั่นกับกรณีเยียวยา

6. กรณีนี้ เหตุเกิดจากวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ประชาชนไทยทุกคนได้รับผลกระทบ รัฐบาลจึงควรชดเชยและจ่าย เงินเยียวยา ทุกคน ‘เท่ากัน’ ทันที ไม่ยุ่งยาก ไม่ล่าช้า ไม่มีเงื่อนไขมาก การให้เงินชดเชยไม่เท่ากันนั้นไม่เป็นธรรม