เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner
วันที่ 26 เม.ย. 2564 นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้โพสต์เฟซบุ๊กภาพเบื้องหลังการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ต้องใช้นักเทคนิคการแพทย์ ที่มีความชำนาญด้านการตรวจอณูชีววิทยา ที่ต้องมีการรายงานที่แม่นยำ ทันเวลา ต่อการควบคุมโรคและการรักษา รวมถึงการป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ การไม่ให้เจ้าหน้าที่ต้องติดเชื้อ จะยิ่งบั่นทอนกำลังในการทำงาน
เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง
เมื่อตัวอย่างได้ถูกส่งมาถึงห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนแรกตรวจสอบความถูกต้อง ลงบันทึกข้อมูลในระบบ จึงเข้าห้องสกัดเชื้อ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องใส่ชุดป้องกันสูงสุด หน้ากาก N95 และแยกเชื้อในตู้ปลอดเชื้อ หลังจากนั้นนำเข้าเครื่องสกัดโดยสกัดได้ครั้งละ 32 ตัวอย่าง รอเวลาประมาณ 30-40 นาที ต่อรอบเมื่อได้ตัวอย่างที่สกัดแล้ว จะนำเข้าไปเติมน้ำยาให้มีการขยายเชื้อก่อนเข้าสู่เครื่องอ่าน ที่สามารถอ่านได้ครั้งละ 94 ตัวอย่างขั้นตอนนี้ใช้เวลานานประมาณ 3 ชั่วโมง รวมเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงที่ต้องทำต่อเนื่อง ต่อ 1 รอบ ถ้าทำวันละ 4 รอบ ตรวจได้วันละ 376 ตัวอย่าง ใช้เวลาทำงาน 20 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อยที่ต้องอยู่ในห้องปฏิบัติการ
ยังไม่รวมถึงการถอดชุดออกมากินข้าว เข้าห้องน้ำ การใส่ชุดเปลี่ยนชุด การลงบันทึกข้อมูล การส่งรายงาน หากตัวอย่างที่เข้ามามาก งานก็มากไม่ได้หยุดพัก ที่ผ่านมาบางวันกว่า 600 ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่แทบไม่มีเวลานอนต้องอาศัยพื้นที่หน้าห้องปูเสื่อพอได้งีบบ้าง รอบสุดท้ายจะเข้าเครื่องอ่านตอนตีสาม แล้วออกมาเคลียร์เอกสาร แปลผลรอบก่อนหน้านี้ เพื่อรายงานกรณีผลบวกไปก่อน เช้ามาก็มาอ่านรอบที่ลงเครื่องไว้ หมุนวนกันไปแบบนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะคุมการระบาดได้
ในช่วงนี้มีการระบาดรุนแรง ทางโรงพยาบาลสิชล จึงได้เพิ่มกำลังการตรวจ อีกเท่าตัว โดยวางเครื่องสกัดและเครื่องอ่านผลอีก 1 ชุด ทำให้สามารถตรวจได้วันละ 800 ตัวอย่าง จะช่วยทำให้รายงานผลทันเวลา ภายใน 24 ชั่วโมง เป็นอีกมุมหนึ่งของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อประชาชนคนไทย ทักคนสามารถช่วยได้ ต้องหยุดปัจจัยเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อ เพราะปัจจุบันไม่รู้ว่ารับเชื้อจากที่ไหนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ การตามรอยโรคจึงยากแก่การควบคุม อ่อนล้าไปบ้าง แต่ไม่ท้อถอย
ที่มาเฟซบุ๊ก: Arak wongworachat