เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ส่งลูกปลาหมึกมากกว่า 100 ตัว และหมีน้ำ สัตว์ขนาดเล็กจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอีกราวๆ  5,000 ตัว ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่พิเศษยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

ข่าวอื่นๆเพิ่มเติม

ในภารกิจดังกล่าว ลูกปลาหมึกเรืองแสงจำนวน 128 ตัว ถูกส่งไปทดสอบการอยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานาน เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงผลกระทบทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากการเดินทางในห้วงอวกาศต่อปฏิสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ระหว่างจุลินทรีย์และร่างกายของสัตว์ NASA กล่าวว่า การทดลองนี้ จะช่วยให้ในอนาคตทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างมาตรการ หรือแผนการรักษาสุขภาพให้นักบินอวกาศที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจเป็นเวลานานได้

เจมี่ ฟอสเตอร์ (Jamie Foster) นักจุลชีววิทยา ซึ่งผู้วิจัยหลักของการทดลองนี้ อธิบายว่า “สัตว์ต่างๆ รวมถึงมนุษย์ต้องพึ่งพาจุลินทร์ทรีเพื่อรักษาระบบย่อยอาหาร และภูมิคุ้มกัน ซึ่งที่ผ่านมา เรายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การเดินทางในอวกาศเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้อย่างไร” ส่วนเหตุผลที่เลือกปลาหมึกมาปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้คือ ปลาหมึกมีระบบภูมิคุ้มกันที่คล้ายกับมนุษย์

สำหรับใครที่กังวลว่า นี่เป็นการเดินทางแบบตั๋วเที่ยวเดียวหรือไม่ และเจ้าสัตว์ตัวน้อยจะถูกทิ้งไว้ที่นั่นหรือเปล่า NASA เปิดเผยว่าพวกเขามีที่ว่างเหลือพอที่จะพาลูกปลาหมึกกลับโลก โดยพวกมันจะถูกแช่แข็งก่อนเดินทางกลับมาและสำหรับเจ้าหมีน้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าอึด ถึก ทน! มากจนสามารถเดินทางไปแตะดวงจันทร์มาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ตัดสินส่งมันไปยังห้วงอวกาศพร้อมกัน เพื่อทดสอบว่ามันสามารถมีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้อย่างไร

ด้านโธมัส บูธบี (Thomas Boothby) หนึ่งในผู้วิจัยหลักของการทดลอง กล่าวว่า “เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าหมีน้ำรอดชีวิต และแพร่พันธุ์ได้อย่างไรในสภาพเช่นนั้น หากเราสามารถไขความลับของมันได้ ในอนาคตอาจจะนำวิธีเหล่านี้มาปรับใช้กับเหล่านักบินอวกาศ

อย่างที่กล่าวไป หมีน้ำเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุด วีรกรรมของมันถูกกล่าวขานมาแล้วนักต่อนัก ต่อให้ปล่อยมันเคว้งคว้างในห้วงอวกาศมันก็ไม่ตายง่ายๆ เพราะมันมีชีวิตได้แม้อยู่ในภาวะไร้อากาศ หรือมีกัมมันตรังสีเข้มข้น