ที่มีมันไม่พอ ! แบงก์ชาติคาด ” รัฐเร่งกู้เพิ่ม 5 แสนล้าน ” หลังโควิด-19 ไม่มีท่าทีจบ
วันที่ 12 ก.ค.64 นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. ขอติดตามและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่รัฐบาล ได้ประกาศใช้ล่าสุดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 โดยต้องดูว่าหลังจากมาตรการกึ่งล็อกดาวน์จบแล้ว รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรออกมาอีกหรือไม่ หรือหากสถานการณ์ดีขึ้นจนสามารถประกาศผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
น่าเชื่อ ! ” หมอบุญ ” บอกข่าวดี เตรียมประสานรัฐนำวัคซีน ” mRNA-Novavax ” เร็ววัน
-
” แสนสิริ ” สั่งจอง ” โมเดอร์นา 5,000 โดส ” เป็เข็มที่ 3 เพื่อพนักงาน
ขณะที่การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทยนั้น ถือเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ทำได้ช้าลง ซึ่ง ธปท. และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการติดตามและประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่านโยบายที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ หรือต้องทำอะไรเพิ่มเติม
ด้าน น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า จากข้อมูลในวันที่ 22 มิ.ย. 2564 ที่ใช้ทำการประเมิน ทำให้คาดว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ได้ภายในต้นไตรมาส 4/2564 โดยยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญหลัก ๆ ที่ต้องจับตา คือการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง จนส่งผลให้การระบาดรุนแรงมากขึ้น
รวมถึงต้องจับตามองแรงกระตุ้นทางการคลัง เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ภาษีที่ลดลงจะมีผลต่อแรงกระตุ้นทางการคลังในระยะต่อไป และฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจในปัจจุบันอาจจะนำไปสู่การจ้างงานที่จะส่งต่อไปยังฐานะทางการเงินของครัวเรือน ซึ่งก็จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ จากสมมุติฐานเดิม ธปท. มีการประเมินว่าในปีนี้รัฐบาลจะมีการเบิกจ่ายเงินกู้ ตาม พ.ร.ก. กู้เงินเพิ่มเติม วงเงิน 5 แสนล้านบาท จำนวน 1 แสนล้านบาท เพราะยังมีการเบิกจ่ายวงเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทค้างอยู่ และจะมีการเบิกจ่ายอีก 2 แสนล้านบาทในปีหน้าแต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากข้อมูลสมมุติฐาน ซึ่งภาพเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. 2564 ได้มีการรวมการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าไว้ในระดับหนึ่งแล้ว
และหากสถานการณ์การระบาดยังยืดเยื้อ รุนแรงและขยายตัวเป็นวงกว้างกว่าที่ประเมิน รวมถึงปัจจุบันมีการใช้มาตรการในการควบคุมอย่างล็อกดาวน์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการรุนแรงกว่าที่เคยคาดการ ซึ่งประเด็นนี้จะส่งผลกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะมีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก. กู้เงินเพิ่มเติมเต็มจำนวนที่ 5 แสนล้านบาท