เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ไขที่มาความขัดแย้ง สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่อาจเป็นชนวนร้อน ลุกลามเป็นสงครามโลกครั้งใหม่ได้

ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยสงครามเย็น

เรื่องนี้คงต้องย้อนไปสมัยสงครามเย็น ซึ่งเป็นการปะทะระหว่างขั้วอุดมการณ์ ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ นำโดย 2 มหาอำนาจอย่าง สหภาพโซเวียตและ สหรัฐฯ ซึ่งในขณะนั้นทางชาติตะวันตกได้แก่ สหรัฐฯ และบรรดาชาติยุโรป ได้จับมือกันตั้ง องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต(NATO) องค์กรความร่วมมือทางทหารเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหภาพโซเวียต ภายใต้หลักการว่า หากประเทศสมาชิกประเทศถูกโจมตี จะถือว่าเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด 

ต่อมาในปี ..1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ทำให้แต่ละประเทศแยกตัวออกเป็นเอกราช ซึ่งรวมถึงยูเครน ด้วย อย่างไรก็ดี ทิศทางการเมืองภายในของยูเครนไม่มีความชัดเจนนัก เพราะมีทั้งประชาชนที่สนับสนุนรัสเซีย และมีฝ่ายที่เอนเอียงไปทางยุโรป โดยนโยบายทางการเมืองของยูเครนขึ้นอยู่กับผู้นำในขณะนั้นๆ ว่าจะหนุนรัสเซียหรือยุโรป

ยุชเชนโก ประธานาธิบดียูเครน

ในปี ..2005 วิกเตอร์ ยุชเชนโก ขึ้นเป็นประธานาธิบดียูเครน เขามีนโยบายการเมืองที่เอนเอียงไปทางยุโรปและพายูเครนออกห่างจากรัสเซียมากขึ้น รวมถึงการผลักดันให้ยูเครนเข้าร่วมนาโต ทำให้ในปี.. 2008 นาโตให้สัญญาว่าจะรับยูเครนเข้าเป็น 1 ในชาติสมาชิก

ทั้งนี้ รัสเซีย มีจุดยืนไม่สนับสนุนการเข้าร่วมนาโตของยูเครนมาโดยตลอด โดยมองว่าเป็นภัยคุกคามเพราะเปิดทางให้นาโต ร่วมถึงชาติยุโรปเข้ามาประชิดชายแดนรัสเซีย 

ความสัมพันธ์กับรัสเซีย

จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี ..2013 เมื่อวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีในขณะนั้น ซึ่งมีนโยบายการเมืองที่เอนเอียงไปทางรัสเซีย ได้ปฏิเสธข้อตกลงการค้าเสรีกับอียู และหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับทางรัสเซียแทน ซึ่งทำให้ประชาชนยูเครนไม่พอใจจนเกิดเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ 

จนกระทั่ง ..2014 รัฐสภายูเครน ลงมติถอดถอนยานูโควิชออกจากตำแหน่ง ทำให้เขาต้องลี้ภัยไปยังรัสเซีย ซึ่งจากกรณีดังกล่าวรัสเซียได้ตอบโต้โดยการบุกเขตปกครองตนเองไครเมีย ดินแดนคาบสมุทรทะเลดำ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแต่สหภาพโซเวียตได้เซ็นมอบให้ยูเครนในปี ..1954 เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนในไครเมียก็ยังเป็นเชื้อสายรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ และยังใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลัก

การแยกตัวจากยูเครน

ไครเมียได้มีทำประชามติ เพื่อถามประชาชนว่าจะอยู่กับยูเครนต่อหรือจะไปอยู่รัสเซีย ผลประชามติปรากฏว่าประชาชนมากกว่า 95% เห็นชอบแยกตัวจากยูเครน ทำให้ไครเมียประกาศประกาศอิสรภาพจากยูเครนและขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แต่ยูเครนรวมถึงนานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมดังกล่าว โดยมองว่ารัสเซียแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของยูเครน

ในปีเดียวกัน กลุ่มผู้สนับสนุนรัสเซียในดินแดนทางตะวันออกของยูเครน ในพื้นที่โดเนตสก์ลูฮันสก์ ในแคว้นดอนบาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคนเชื้อสายรัสเซียอาศัยอยู่มากเช่นกัน ได้ประกาศตัวเป็นกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ขอแยกประเทศออกจากยูเครน จนเกิดการปะทะครั้งใหญ่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่ารัฐบาลมอสโกคอยให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏ จนต่อมาต้องมีการทำข้อตกลงสันติภาพมินส์กถึง 2 ฉบับเพื่อให้ทุกฝ่ายหยุดยิง อย่างไรก็มีในพื้นที่ดังกล่าวยังมีการปะทะกันเรื่อยมา  

นโยบายพายูเครนเป็นส่วนหนึ่งของนาโต

ต่อมาในปี ..2019 โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี้ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของยูเครน เขามีนโยบายที่จะพายูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาโต ทำให้รัสเซีย ซึ่งมีท่าทีชัดเจนมาตลอดว่าไม่ต้องการให้ยูเครนเข้าร่วมนาโต ได้ออกมาเรียกร้องให้นาโตให้การรับรองว่าจะไม่รับยูเครนเป็นชาติสมาชิกและจะไม่ขยายอำนาจทางการทหารเข้ามาทางยุโรปตะวันออก แต่ทางนาโตไม่ให้คำตอบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้น จนเมื่อปลายปี 2021 รัสเซียได้ส่งทหารกว่าแสนนายเข้าประชิดชายแดนยูเครนเพื่อกดดันก่อนจะมีการเซ็นรับรองเอกราชในแคว้นดอนบาส และส่งกำลังเข้าปฏิบัติการณ์ในพื้นที่ของยูเครนในครั้งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงครามปะทุ เกิดระเบิดหลายครั้งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน หลังรัสเซียประกาศเปิดศึก

ทหารรัสเซีย ร่ำไห้หลังถูกจับในยูเครน ย้ำ!ไม่ต้องการสงคราม