เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ถอด!! กัญชาพ้นพืชเสพติด

 

ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้วถือเป็นการปลดล็อกพืชกัญชาพ้นบัญชียาเสพติด แต่ร่างพ.ร.บ.กัญชงฯ ที่กำหนดข้อบังคับการใช้ยังไม่ออก นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม บอกว่า เดิมกัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แล้วจึงมี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ส่งผลให้ประกาศกระทรวงฯฉบับเดิมได้ถูกนำมาใส่ไว้ในมาตรา 8 ทำให้กัญชาคงเป็นยาเสพติดมีผลบังคับต่อไป ฉะนั้นแล้วการปลดล็อกคงเป็นยาเสพติดอยู่แค่เฉพาะ “ส่วนสารสกัด” แต่ส่วนอื่นที่ไม่ใช่สารสลัดได้จากพืชกัญชาก็ไม่ถือว่า “เป็นยาเสพติดประเภท 5” ตามความผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดฯฉบับปัจจุบันนี้ แม้กัญชาจะไม่มีความผิดตามกฎหมายยาเสพติดแล้ว แต่การใช้ จำหน่าย นำเข้า หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อสุขภาพ ยังต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่นๆ โดยการจำหน่ายมีเงื่อนไข ห้ามจำหน่ายให้สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้ที่ขับรถสาธารณะ หากเสพกัญชาจะมีความผิดตามพ.ร.บ.จราจร และผู้สูบกัญชาก็อาจเสี่ยงกระทำผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญได้

ถอดกัญชาพ้นพืชเสพติดแล้ว อะไรทำได้ ไม่ได้บ้าง..?

ทำได้

1. ปลูกกัญชาได้ แต่ต้องแจ้ง
2. ใช้น้ำมันกัญชารักษาโรค
3. ซื้อหรือครอบครองได้

ทำไม่ได้

1. กลิ่นควัน (ทำให้คนอื่นรำคาญ)
2. ห้ามผู้ที่ขับรถสาธารณะใช้
3. ห้ามครอบครอง (สารสกัดที่ มีค่า THC เกิน 0.2)

ต้องขออนุญาต

1.ปรุงอาหาร เครื่องดื่ม
2. ใช้ทำยา สมุนไพร เครื่องสำอางขาย
3.น้ำเข้า-ส่งออก (พืช เมล็ด สารสกัด)