เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

ซาติวา (Cannabis sativa)
ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา

อินดิกา (Cannabis indica)
อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง

รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)
รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา

ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา

  • สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
  • สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร

ทั้งนี้แม้ว่ากฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แต่จากผลการสำรวจพบว่าส่วนมากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้กัญชาจนมาพบแพทย์มักเกิดจากการใช้เพื่อนันทนาการผลข้างเคียงต่างๆต่อร่างกายทางการแพทย์เรียกว่าภาวะพิษจากกัญชาอาการมักไม่รุนแรงแต่ในบางกรณีอาจเกิดอาการที่รุนแรงได้เช่นชักเกร็งหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจนถึงเสียชีวิตการรักษาอาการพิษจากกัญชาเป็นการรักษาตามอาการเนื่องจากยังไม่มียาถอนพิษโดยตรงผลข้างเคียงที่น่ากังวลมากที่สุดนั่นก็คือการเสพติดกัญชา

ปัจจุบันนี้การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีข้อบ่งชี้ในการรักษาเพียง 6 กลุ่มโรคเท่านั้น
1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดโรค
2. ลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยา
3. รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
4. ภาวะปวดประสาท
5. ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
6. ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

ไม่แนะนำใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นการรักษาเริ่มต้นและการให้ยาควรผ่านการรับประทานเท่านั้นการเสพสูบนำส่วนใบมาประกอบอาหารหรือต้มดื่มจึงไม่ใช่การใช้กัญชามารักษาทางการแพทย์จากงานวิจัยจาก Mayo Clinic รวบรวมข้อมูลประชากร 292,770 ราย ในช่วงปี 2011 ถึง 2016 พบว่าอุบัติการณ์โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายของกลุ่มผู้ใช้กัญชาสูงกว่ากลุ่มควบคุมถึง 2.5 เท่า โดยพบว่ากลุ่มอายุน้อยและวัยกลางคนจะมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ดังนั้นถึงแม้ว่าการเลือกบริโภคกัญชาเป็นสิทธิส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานแต่ควรระมัดระวังและคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย

ข่าวที่เกียวข้อง

ไม่ควรปล่อยให้เข้าถึง จะเป็นวัยรุ่นกัญชาต้องรู้อะไรบ้าง

หมอเผย เด็ก 14 เสพกัญชาจนเกิดอาการทางประสาท จนต้องแอดมิท รพ.