อนุทิน พร้อมจับมือ ชัชชาติ ฝ่าวิกฤตโควิด ในกทม.

เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

อนุทิน พร้อมจับมือ ชัชชาติ  ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ยันกระทรวงสาธารณสุข ต้องคอยเป็นฝ่ายสนับสนุนการทำงาน เพื่อป้องกันประชาชนเดือดร้อน

เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 18 ก.ค.2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเชิญกรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับโควิด-19 ว่าไม่ทราบ เพราะเรื่องการปฎิบัติและบริหารจัดการสถานการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยงานราชการส่วนหน้า หากเสนอเรื่องเพื่อขอให้เสนอเข้าครม.หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณ เพื่อขอมติครม. ตนก็เป็นฝ่ายสนับสนุน

นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้เรามี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและมีการลงพื้นที่ไปสัมผัสเอง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหาร เช่น อาจจะบอกว่าขอให้ทั้ง กทม. และกระทรวงสาธารณสุขมาร่วมมือกันเต็มที่ จะไม่มีการเชิญออก หรือขอให้กระทรวงสาธารณสุข อย่ามายุ่งเหมือนเมื่อก่อน เราก็พร้อมจะร่วมมือ เพราะผู้ว่าฯมาจากประชาชน เราต้องเคารพเสียงประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามว่าภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 ใน กทม. มีอะไรน่าเป็นกังวล นายอนุทิน กล่าวว่า กทม.มี 50 เขต แต่ไม่มีโรงพยาบาลอำเภอ มีเพียงโรงพยาบาลหลัก ที่ระบบสาธารณสุข เป็นเอกเทศ ขึ้นอยู่กับการบริหารของกทม.และก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุข เคยเข้าไปช่วยเหลือ

บางครั้งถูกขอให้ออกมาก็มี แต่เราไม่ได้กังวลโกรธ หรือ ไม่พอใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเรื่องสุขภาพประชาชนสำคัญ แต่เมื่อถูกเชิญให้ออกมาก็ต้องออก เพราะไม่มีอำนาจไปดูเรื่องนโยบายหรือการปฏิบัติการ โดยออกมาเป็นฝ่ายสนับสนุนแทน แต่จะโยนให้กทม. รับผิดชอบทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ยังมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องเบิกค่ารักษา เรื่องยาและวัคซีน ยังต้องผ่านการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จัดหายาและเวชภัณฑ์

นายอนุทิน กล่าวว่าถ้าเราเล่นการเมืองโดยไม่ส่งยา ไม่สนใจกันก็ไม่ได้ ประชาชนจะเดือดร้อน ย้ำว่าเรื่องบริหารจัดการเราไปยุ่งไม่ได้ ซึ่งแตกต่างกับต่างจังหวัด ที่เรามีระบบสาธารณสุขเข้มแข็งเพราะมีโรงพยาบาลทุกอำเภอ ทุกจังหวัด และทุกตำบล คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ใน กทม.มีแค่โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลบางขุนเทียน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แต่ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีโรงพยาบาลในสังกัดที่อยู่ใน กทม. เช่น โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ที่คอยช่วยดูแลกันอยู่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง