เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพขณะอยู่บน BTS พร้อมระบุข้อความว่า “WTF มีป้ามาดึงคันโยกฉุกเฉิน 3-4 ที เพราะขึ้นผิดขบวน อห ๆ พอประตูเปิดนางก็วิ่งออกไปเลย ชะงักกันไปหมด”

จากนั้นได้มาเล่าเรื่องราวเพิ่มเติมในคอมเมนต์ว่า “ทุกคนที่นั่งใกล้ประตูงงกันหมด ตอนเจ้าหน้าที่ได้พูดไมค์สอบถามป้ารายดังกล่าวว่า “มีเหตุฉุกเฉินอะไรครับ” โดยป้าตอบว่า “ขึ้นผิดขบวน” เจ้าหน้าที่ยังไม่ทันตอบกลับ เมื่อประตูเปิด ป้าก็วิ่งออกไปทันที โดยป้าลงสถานีปากน้ำ และคาดว่าตอนที่ป้าวิ่งเพื่อจะไปอีกฝั่ง รปภ.คงยืนรอแล้วแน่นอน จากที่จะเสียแค่ค่า BTS น่าจะค่าปรับอ่วมแน่เลย”

โดยเรื่องดังกล่าวกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลายคนบอกว่าป้าคิดว่ากำลังนั่งรถเมล์เหรอ แจ้งจับได้ไหม มีความผิดรึเปล่า ขอให้โดนค่าปรับแบบจุกๆ ถ้าเป็นช่วงจันทร์ – ศุกร์ วันทำงาน ป้าโดนยำแน่

ล่าสุด ทางเพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้เผยแพร่แนวทางการใช้คันโยกฉุกเฉินไว้ว่า ขึ้นขบวนรถไฟฟ้าผิดฝั่งไม่เป็นไร ลงสถานีถัดไปเปลี่ยนเส้นทางได้ แต่งดดึงคันโยกฉุกเฉินนะครับ คันโยกฉุกเฉิน (PER – Passenger Emergency Release พี อี อาร์) ใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ต้องการให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือต้องการเปิดประตูเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้นครับ การดึงคันโยกฉุกเฉิน (PER) จะไม่ทำให้ขบวนรถหยุดทันที แต่จะหยุดเมื่อถึงสถานีถัดไป และส่งผลให้การเดินรถเกิดความล่าช้า เพราะเจ้าหน้าที่จะต้องรีเซ็ตขบวนรถใหม่ครับ ปุ่มกระดิ่ง (PCU – Passenger Communication Unit พี ซี ยู) กดปุ่มติดต่อพูดคุยกับพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าโดยตรง เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อพบคนเป็นลม หรือแจ้งเหตุในขบวนรถครับ เน้นย้ำ!!เน้นย้ำ!! เน้นย้ำ‼หากพบเหตุฉุกเฉินในขบวน คนเป็นลม ผู้ป่วย ในขบวนรถ โปรดกดปุ่มกระดิ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ และงดดึงคันโยกฉุกเฉิน (PER) นะครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มผู้หญิงในชุดบอดี้สูทสีเขียว รุมทำหญิงสาว 2 คน บนรถไฟฟ้าใต้ดิน

เสียงแตก…!! วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียล วัยรุ่นถือป้ายบริเวณสถานีรถไฟฟ้า ระบุว่า”ไม่ให้เรียนต่อ ม.6 เพราะผมยาว”