เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แหล่งข่าวจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย   เปิดเผยว่า  การออกมาเคลื่อนไหวของ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความห่วงใย  ต่อการนำเงิน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)   ในความรับผิดชอบของ   “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ”  หรือ “กสทช.” ไปใช้เพื่อการนี้  โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดสด  “ฟุตบอลโลก 2022”    คาดว่าสูงถึง 1,600  ล้านบาท      โดยต้นเรื่องในการเสนอของบประมาณ ที่นำไปใช้  คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ  “กกท.” ซึ่งรับมอบหน้าที่จากรัฐบาล  ในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์

ทั้งนี้การออกมาแสดงความห่วงใย  ของนักวิชาการและภาคีเครือข่ายสนับสนุน ซึ่งคัดค้านการนำเงินของ กสทช. ไปใช้เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดสด “ฟุตบอลโลก 2022”    โดยอ้างอิงถึงการใช้จ่ายที่ผิดวัตถุประสงค์     ควรใช้ในกิจการเพื่อสาธารณะ  มากกว่าสนับสนุนเฉพาะด้าน หากมองอย่างเป็นกลางแล้ว  เป็นเรื่องที่น่ารับฟัง  และเห็นว่าในทางปฏิบัติ   หรือแนวทางที่วางไว้ที่ผ่านมา ควรหรือยัง  ที่จะถึงวาระของการทบทวน หรือแก้ไขแนวทางให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  อาทิ  การออกข้อกำนดโดยภาครัฐให้การแข่งขันกีฬา  ที่เป็นมหกรรมกีฬาขนาดใหญ่ เข้าถึงการรับชมได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย   ซึ่งภายใต้สภาพความเป็นไป ณ ขณะนี้   ต้องทบทวนว่า  ข้อกำหนดดังกล่าวยังจำเป็นหรือไม่

สิ่งที่ต้องยอมรับความเป็นจริงก็คือ  ฟุตบอลโลก ทีมชาติไทย  ไม่ได้เข้าแข่งขัน   การ “ถ่ายทอดสด “ครบทุกคู่ทุกนัด  มีความจำเป็นเพียงใด   ในเมื่อการรับชมถ่ายทอดสด  “ฟุตบอลโลก 2022” อย่างที่รับรู้กันก็คือ คนไทยไม่ได้เชียร์ทั้ง 32 ทีม  ดังนั้น  หากรัฐจะใช้จ่ายไปเพื่อการนี้ ภายใต้งบลงทุน  1,600 ล้านบาท ก็ถือว่า     เป็นการลงทุนที่มากเกินไป  หากจะทำเพียงเพื่อความบันเทิง   ของกลุ่มผู้ชมฟุตบอลโลก

ดังนั้นจึงควรหาทางเจรจา เพื่อดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน หรือ ร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่าย  และหากในท้ายที่สุดการรับชม จะต้องเสียค่าบริการ เพื่อให้เข้าถึงได้ ผู้รับบริการ  หรือผู้บริโภคก็ควรยินยอม หรือควรรับภาระในส่วนนี้  การที่จะใช้แนวทางว่า   เป็นมหกรรมกีฬาที่ต้องรับชมฟรี   ควรที่จะเปลี่ยนกฏเกณฑ์แบบนี้   เพราะทุกอย่างคือการลงทุน  ในเมื่อรัฐไม่มีค่าใช้จ่าย  ไม่มีงบประมาณที่จะซื้อลิขสิทธิ์    หากเกิดการลงทุน  และผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ต้องการเข้าถึง ก็ควรที่จะต้องเสียค่าบริการ

ข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับก็คือ  หากจะไม่มีการถ่ายทอดสด แต่สำหรับผู้ที่อยากรับชมการแข่งขัน  ก็สามารถหาช่องทางการรับชมได้อยู่แล้ว  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต  ดังนั้น  หากรัฐจะใช้จ่ายใดๆ   จึงควรที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบ  ต้องนำถึงสภาพความเป็นจริง การใช้เงินลงทุนสูง ถึง 1,600  ล้านบาท เพียงเพื่อสนองตอบความสุขของคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบกีฬาฟุตบอล  โดยข้อเท็จจริงแล้วคุ้มกันหรือไม่

ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.   กล่าวว่า วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน   คณะกรรมการของ  กสทช.   จะมีการประชุมและหารือถึงเรื่องการของบจากกองทุนของ กสทช.ไปอุดหนุน ในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด  ฟุตบอลโลก 2022    ตามที่กกท. ร้องขอมา    โดยจะพิจารณาในขั้นตอนดำเนินการ  ว่า กสทช.  จะสามารถสนับสนุนงบประมาณได้มากน้อยเพียงใด  โดยรายละเอียดการพิจารณา จะทราบผลภายในวันเดียวกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นตัวแทนจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนนักวิชาการด้านสื่อ ประกาศจุดยืนคัดค้านการอนุมัติสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 เป็นจำนวนเงินค่าซื้อลิขสิทธิ์ รวมภาษีสูงถึง 42 ล้านเหรียญ หรือ 1,600 ล้านบาท โดยระบุว่าเป็นการนำเงินกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุขเกินไปจนเศร้า!!! ฝรั่งเศส มีเหตุตาย 2 เจ็บอีก 3 สังเวยฉลองแชมป์ฟุตบอลโลก 2018

ผลจับกุมพนันฟุตบอลโลก 2018 เปรียบเทียบกับ ฟุตบอลโลก 2014 พุ่งจาก 12 ล้าน เป็น 51 ล้าน