เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

โรคหัวใจนั้นมักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน แม้จะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต คือการตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำ เพื่อป้องกัน หรือ เข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที โรคหัวใจ รักษาได้ หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

 

โรคหัวใจ เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการ และความรุนแรงที่หลากหลาย บางรายไม่มีอาการผิดปกติ บางรายมีอาการไม่ชัดเจน แต่กลับมีอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่อาจไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองมีภาวะโรคหัวใจอยู่ก็เป็นได้ โดยอาการที่กล่าวมานั่นคือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ ที่เรามักจะเรียกกันว่า หัวใจวาย แต่ถ้าหากเรารู้ทันโรค ก็สามารถที่จะป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) เกิดจากอะไร ?

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ หัวใจวาย เกิดจากภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณไขมันมากเกินไป จนเกิดเป็นตะกรัน (Plaque) เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด แต่ตะกรันแหล่านี้เกิดการแตกออก ทำให้ก่อตัวเป็นลิ่มเลือดไปอุดกั้นทางเดินโลหิต หากไปอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ก็จะส่งผลให้หัวใจขาดเลือด ทำให้เสียชีวิตได้

อาการแบบไหน เข้าได้กับโรคหัวใจ ?

  • เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน
  • มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน
  • ตัวเย็น แต่กลับมีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • รู้สึกเหนื่อยอ่อน หอบ หายใจไม่พอ สูดหายใจถี่ และสั้น
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดการใช้แรง นั่งพัก และรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้ จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ส่งผลต่อการส่งออกซิเจนไปตามร่างกาย และสมอง เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

คนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะหากคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
  • คนที่มีไขมันในเลือดสูง และมีความดันโลหิตสูง ไขมันคือสาเหตุของการเกิดตะกรันในผนังหลอดเลือด หากมีปริมาณตะกรันที่มาก ก็มีโอกาสที่ตะกรันเหล่านั้นจะแตกได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสะสม และพักผ่อนน้อย ความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบทางเดินโลหิต ทำให้การทำงานของหัวใจมีความผิดปกติได้
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน เนื่องจากมีแนวโน้มจะรับประทานแป้ง น้ำตาล และไขมันมากกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไขมันสะสมในผนังหลอดเลือดมากขึ้น
  • ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นการบริหารการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดได้ดี หากขาดการออกกำลังกาย การทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดจะแย่ลง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงการสูบบุหรี่จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ

การป้องกัน ดูแลร่างกาย ให้ห่างไกลภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

  • ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มี แป้ง น้ำตาล และไขมันสูง
  • งดอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์
  • บริหารจัดการความเครียด
  • งดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ เพื่อประเมินความเสี่ยง

โรคหัวใจนั้นมักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน แม้จะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต คือการตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำ เพื่อป้องกัน หรือ เข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที โรคหัวใจ รักษาได้ หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพวงมาลาหลวง เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ จ.สุราษฎร์ธานี หลังโรคหัวใจกำเริบเสียชีวิตก่อนมาร่วมงานปั่น “Bike อุ่นไอรัก”

สู้สุดใจ เหล่าหมอและพยาบาลเร่งผ่าตัดคนไข้โรคหัวใจ ในขณะที่โรงพยาบาลเกิดเหตุเพลิงไหม้