เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 9 มิ.ย. 2566 ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าวกรณีสถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ ทำให้มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกิดอาการท้องเสียหลายร้อยราย

นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยและภูเก็ตเข้าสู่ฤดูฝน อากาศมีความเย็นและชื้น ทำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัสโนโรและไวรัสโรต้า รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้ออีโคไล ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

นพ.กู้ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 6-8 มิ.ย. 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้รับรายงานสถานการณ์พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเข้ารับบริการในโรงพยาบาลภาครัฐ เฉลี่ย 50 ราย/วัน โรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ย 100 ราย/วัน กระจายหลายกลุ่มอายุ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีรายงานพบนักเรียนป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงกระจายในหลายโรงเรียน

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าโรงพยาบาลมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และบางรายมีไข้ซึ่งพบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน และพบการกระจายของโรคทั้ง 3 อำเภอ

สำหรับในโรงเรียนพบนักเรียนป่วยในพื้นที่ อ.เมือง อ.กะทู้ และอ.ถลาง ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตจึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1.แจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และเอกชน ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อทางอาหารและน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ

2.แจ้งสถานศึกษาในพื้นที่ ทุกระดับ ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น

กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ, ให้มีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดเรียนจนกว่าจะหาย, เน้นมาตรการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และเพิ่มความเข้มข้นความถี่ ในการทำความสะอาดจุดเสี่ยงในโรงเรียนเพื่อฆ่าเชื้อ

3.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรค ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

4.ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
4.1 ฝ้าระวังมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ประกอบด้วย ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดสด ตลาดนัด และอาหารริมบาทวิถี
4.2 ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
4.3 กำกับดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงาน ในการฆ่าเชื้อด้วยคลอรืนก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
4.4 ติดตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงาน และประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm. และมีการสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

5.ประสานประปาภูมิภาคให้ดำเนินการติดกตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงานและประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm. และมีสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

6.ประเมินและประสานสถานประกอบการที่ผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็ง เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัย โดยดำเนินการตรวจสอบกระบวนการฆ่าเชื้อและการควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงเน้นย้ำผู้ประกอบการกวดขันเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีของพนักงานในกระบวนการผลิต และควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนการขนส่งน้ำแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ

และ 7.ดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อในพื้นที่โดยการเก็บตัวอย่างน้ำ น้ำแข็ง น้ำใช้ อุจจาระ และอาเจียนเพื่อส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค (อยู่ระหว่างรอผล)

สำหรับการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ และดื่มน้ำสะอาดที่ได้รับมาตรฐาน

หากเป็นน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุงควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน และเครื่องหมาย อย. สำหรับอาหารค้างมื้อควรอุ่นร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังขับถ่าย

ทั้งนี้ หากอาการอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น มีอาการถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 กรณีป่วยไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ขอความช่วยเหลือได้ที่ สายด่วน 1669

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำยังไงที่จะปกป้องจิตใจ ของเราจากภาวะโรคระบาด

พบโรคระบาดในหมู แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ส่งผลให้ต้องทำลายหมู

.
.
โฟมล้างหน้า24plusใช้ดีแล้วรีวิว โพสต์ลงโซเชียล ติด#โฟมล้างหน้า24plus ชิงสุดยอดนักรีวิว และรางวัลกว่า1ล้าน
กดลิ้งค์เพื่อรับข้อมูล
https://www.tvpoolreward.com/salepagefoam/contactpage
*️⃣ รู้สึกอ่อนเพลีย มีปัญหาไขมันพอกตับ หรือสายปาร์ตี้ ดื่มหนัก ทานฮ๊อกเกตไธโอนดูแลตับวันละ1เม็ด มีฮ๊อกเกตนามูจากเกาหลีทำให้ตับดี= ฮ๊อกเกตไธโอ=สุขภาพดี
กดลิ้งค์เพื่อรับข้อมูล
https://www.tvpoolreward.com/salepageheokkaetione/contactpage