เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

การค้นพบใหม่ล่าสุดของเหล่านักวิทยาศาสตร์ เผยว่า การที่ดวงจันทร์โคจร ถอยห่างจากโลกไปเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วงที่มีต่อโลก ซึ่งทำให้โลกหมุนช้าลง และเวลาในหนึ่งวันจะเพิ่ม-ยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน

โดยนักวิจัยได้คาดการณ์ว่า ระยะเวลาหนึ่งวันบนโลกของเราอาจยาวนานถึง 25 ชั่วโมง ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่การคาดการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในอีกประมาณ 200 ล้านปีข้างหน้า

ซึ่งสตีเฟน เมเยอร์ส นักธรณีวิทยาและศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ได้อธิบายการวิจัยที่ค้นพบให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกไป โลกก็เปรียบเสมือนจะหมุนรอบตัวเองช้าลง เนื่องจากต้องยืดแขนออกไปอีก”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 238,000 ไมล์หรือราว 1.609 ล้านกิโลเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 27.3 วันในการโคจรรอบโลกหนึ่งครั้ง แต่การวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่า ดวงจันทร์เคลื่อนออกห่างจากโลกไปไกลขึ้นราว 1.5 นิ้วต่อปี ซึ่งหมายถึง ดวงจันทร์ต้องใช้เวลานานกว่าในการโคจรรอบโลกของเรา

ขณะเดียวกัน นายเมเยอร์ส และนักวิจัยคนอื่นในทีม ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างโลกและดวงจันทร์ เมื่อ 1,400 ล้านปีก่อนว่า หนึ่งวันบนโลกมีระยะเวลาเพียงประมาณ 18 ชั่วโมงเท่านั้น

ซึ่งพวกเขาได้ใช้วิธีการคำนวณทางสถิติที่เชื่อมโยงทฤษฎีดาราศาสตร์กับการสังเกตการณ์ทางธรณีวิทยา เพื่อมองย้อนกลับไปถึงอดีตทางธรณีวิทยาของโลก โดยสิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถสร้างประวัติศาสตร์อันลึกซึ้งของระบบสุริยะขึ้นมาใหม่ได้

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่การถอยห่างของดวงจันทร์จะส่งผลต่อการโคจรรอบโลกของเราเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก อย่าง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกก็จะละลายเร็วกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลต่อเคลื่อนตัวจากขั้วโลกของโลกไปยังเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมหาสมุทรจะขยายออกไปสู่ดวงจันทร์ และทำให้การหมุนโคจรของโลกช้าลงอีกด้วย