อุบัติเหตุบนท้องถนน สิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง และหนึ่งในสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้คือ ความประมาท สังคมจึงต้องมี “กฎหมายจราจร” เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่าหลายคนจะรู้ดีว่าต้องปฎิบัติตามกฎหมาย แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า คนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงฝ่าฝืนกฎหมายเหล่านี้อยู่ เช่น ขับรถฝ่าไฟแดงเพราะรีบ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเพราะคิดว่าจุดหมายไม่ไกล ขับรถบนทางเท้า ฯลฯ
กฎหมายจราจรใหม่ 2567 เริ่มต้นบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา มีทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการขับขี่ ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ และกฎหมายอื่น ๆ
โดยกฎหมายจราจรใหม่มีการปรับอัตราโทษและเพิ่มบทลงโทษสำหรับความผิดหลายกรณี มีรายละเอียดดังนี้
กฎหมายจราจรใหม่ และ ค่าปรับจราจรใหม่ล่าสุด 2567
- ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)
- ฝ่าสัญญาณไฟจราจร ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)
- ขับรถผ่านทางม้าลายโดยไม่หยุดให้คนข้าม ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม 500 บาท)
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม 500 บาท)
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม 500 บาท)
- ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น ปรับ 5,000 – 20,000 บาทและจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (เดิม 2,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- ขับขี่บนทางเท้า ปรับ 400 – 1,000 บาท และผู้แจ้งเบาะแสได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นกึ่งหนึ่งของค่าปรับ
- ไม่หยุดรถหลังเส้นหยุดรถบริเวณสัญญาณไฟจราจร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- กลับรถที่ทางร่วมทางแยก (โดยไม่มีเครื่องหมายจราจรอนุญาต) ปรับ 400 – 1,000 บาท
- ไม่ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติดก่อนหรือระหว่างการขับขี่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- แข่งรถบนถนนทางสาธารณะ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายความเร็วใหม่
กฎหมายจราจร ได้กำหนดความเร็วในการขับขี่บนท้องถนน สำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท ซึ่งกฎหมายความเร็วใหม่แบ่งออกได้ตามประเภทของยานพาหนะ ดังต่อไปนี้
- รถยนต์ 4 ล้อ : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 110 กม./ชม. แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าอยู่เลนขวาสุด จะต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม.
- รถบรรทุกและรถโดยสารที่จุได้มากกว่า 15 ที่นั่ง : กำหนดความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 90 กม./ชม.
- รถบรรทุกผู้โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน : ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม.
- รถมอเตอร์ไซค์ : ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
- รถมอเตอร์ไซค์ขนาด 400 ซีซีขึ้นไป : ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม.
- รถสำหรับลากจูง รถสามล้อ และรถยนต์สี่ล้อขนาดเล็ก : ไม่เกิน 65 กม./ชม.
- รถยนต์ 4 ล้อ : ขับบนทางด่วนได้ไม่เกิน 100 กม./ชม.
- รถบรรทุกมากกว่า 2,200 กิโลกรัม หรือรถโดยสารเกิน 15 คน : ขับบนทางยกระดับหรือทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
- รถโรงเรียน-รับส่งนักเรียน : ขับบนทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
นอกจากกฎหมายที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและกฎหมายความเร็วแล้ว ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- ไม่พกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ขับขี่ในขณะที่ใบอนุญาตขับขี่หมดอายุ ถูกยึด ถูกเพิกถอนหรือถูกพักใช้ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ถูกปรับ จ่ายค่าปรับจราจรได้ที่ไหน
- แอปพลิเคชัน Krungthai Next
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
- CenPay ของเครือ CENTRAL Group
- จุดบริการที่มีเครื่องหมาย PTM ที่แสดงถึงหน่วยบริการชำระเงินค่าปรับตามใบสั่งโครงการ PTM
- สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1193
สำหรับใครที่เมินเฉยต่อ ใบสั่ง ไม่ไม่ไปชำระค่าปรับตามวันและเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่จะมีการแจ้งข้อหาเพิ่มเพราะไม่มารายงานตัว แถมยังถูกอายัดทะเบียนด้วยเช่นกัน โดยจะมีค่าปรับเพิ่มขึ้นมา 1,000 บาทอีกด้วย หากติดค่าปรับจราจรเอาไว้ ไม่ไปจ่ายเลย ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถได้ในอนาคต และหากยังไม่ชำระค่าปรับจราจรอีกอาจมีการดำเนินการทางกฎหมาย เช่น การออกหมายเรียก หรือการดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระค่าปรับ