ตามนโยบายของรัฐบาลให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการปราบปรามกลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิด
และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติการณ์ใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชน
โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น หรือกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีพฤติการณ์ใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชนทั่วไปและมีผู้หลงเชื่อ
จนเป็น เหตุให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.
ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง“ศูนย์ป้องกัน และปรามปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. เป็น ผอ.ศูนย์ฯ
และให้ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบช.ทท. ควบคุม กำกับชุดปฏิบัติการประจำศูนย์ฯ ได้ประสานความร่วมมือกับ
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ร่วมปฏิบัติการ ทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ จากการปฏิบัติงาน
ของสายด่วน ๑๗๑๐ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสายด่วน ๑๑๕๕ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ร่วมกับธนาคาร กสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงเทพ ได้ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการถูกหลอกลวงของ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงและโอนไปยังบัญชีของกลุ่มคนร้ายแล้วระงับไม่ให้สามารถ
ถอนเงินออกไป และได้นำเงินคืนให้กับผู้เสียหาย จำนวน 5 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 1,038,015.38 บาท
ได้แก่
๑. ผู้เสียหายในคดีของ สน.ลาดพร้าว ถูกหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 803,766.23 บาท
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 201,500 บาท
๒. ผู้เสียหายในคดีของ สน.สามเสน ถูกหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 599,020 บาท
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 198,413.63 บาท
๓. ผู้เสียหายในคดีของ สน.สามเสน ถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 300,000 บาท
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้เต็มจำนวน
4. ผู้เสียหายในคดีของ สน.พลับพลาไชย 1 ถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 288,000 บาท
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้เต็มจำนวน
5. ผู้เสียหายในคดีของ สภ.เมืองกาญจนบุรี ถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 200,000 บาท
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 50,101.75 บาท
จากข้อมูลผู้เสียหายทั้ง 5 ราย เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายได้เต็มจำนวนทั้งหมด 2 ราย
จากการสอบถามผู้เสียหายที่สามารถทำการอายัดเงินได้ทัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการตั้งสติ คิดทบทวน
และทราบว่าถูกคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวง เฉลี่ยแล้วใช้เวลาดังนี้
อายัดเต็มจำนวนใช้เวลาประมาณ ๑๕ – ๓๐นาที
อายัดได้บางส่วนมากกว่าครึ่งของจำนวนที่ถูกหลอกใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที – ๑ ชั่วโมง
อายัดได้บางส่วนน้อยกว่าครึ่งของจำนวนที่ถูกหลอกใช้เวลาตั้งแต่ ๑ ชั่วโมง ขึ้นไป
โดยใช้ช่องทางติดต่อการอายัดเงิน ผ่านช่องทางสายด่วน 1155, 1710 และ ทางธนาคาร
สรุปจากการผลการปฏิบัติงานในการอายัดเงินของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงจากแก็งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงไปยังบัญชีคนร้าย สามารถอายัดเงินคืนให้แก่ผู้เสียหายได้ จำนวน 110 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,063,182.55 บาท
จากสถิติการรับแจ้งเหตุของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ศป.ฉปทน.ตร.) รับแจ้งเหตุตั้งแต่วันที่ ๘ ธ.ค.๖๐ ถึงวันที่ 3 มิ.ย.๖๑ จำนวน 446 คดี มูลค่าความเสียหาย 235,484,367.92 บาท
กรณียังมีผู้เสียหายที่ถูกเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง แต่ยังไม่ได้ไปร้องทุกข์ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนท่านใดที่ได้รับความเสียหายจากเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน ให้รีบแจ้งมาที่
ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ อาคาร ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ ๑ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สายด่วน ๑๑๕๕ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๕๑ ๙๗๙๓ หมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๕๒ ๗๘๘๑
ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สายด่วน ๑๗๑๐
ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ เลขที่ ๔๒๒ ถนน พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
“ในกรณีที่รู้ตัวว่าถูกหลอกลวง ขอให้แจ้งสายด่วน ๑๑๕๕ และ ๑๗๑๐ โดยเร็วที่สุด”
สด!!!มาตราการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ครั้งที่17 จำนวน 5 ราย เป็นเงินกว่า 1,038,000 บาท” (แก๊งคอลเซ็นเตอร์)
โพสต์โดย ข่าวชาวบ้าน – Thai TV Social เมื่อ 3 มิถุนายน 2018