เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ในช่วงวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2568 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะภาคเหนือบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ข่าวที่น่าสนใจ

คลื่นความร้อนทำพิษ! นศ.จีนหนี ร้อนพึ่งเย็น กางเต็นท์นอนนอกหอ – นอนโรงยิม หลังอุณหภูมิพุ่ง 40°C..

ญี่ปุ่นผุดไอเดียทอง! ‘เช่าคุณยาย’ ชั่วโมงละ 730 บาท ไม่ใช่แค่ทำอาหาร แต่ช่วยบอกเลิกแฟนได้ด้วย!

 

และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเส้นทางที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมขังในระยะสั้นได้

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้

ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2568

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์

สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ

ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2568

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี

และกาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนวางแผนการใช้ชีวิตและการเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างระมัดระวัง จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา