เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ไชน่าเดลี รายงานว่า นายฉือ ซิง นักบรรพชีวินวิทยา นักวิจัยชาวจีน แถลงผลการศึกษาซากไดโนเสาร์หลิงอู่หลง ฉายา มังกรมหัศจรรย์ (amazing dragon) อายุ 174 ปี ว่า มาจากตระกูลไดโพลโดคอยด์ (diplodocoid) เท่ากับเป็นการพบไดโนเสาร์ตระกูลนี้ครั้งแรกในจีน และเอเชียตะวันออก อีกทั้งยังมีอายุเก่าแก่ที่สุดในกลุ่มฟอสซิลไดโนเสาร์ตระกูลนี้ตั้งแต่มีการพบมา

 

 

ฟอสซิลไดโพลโดคอยด์ พบครั้งแรกในปี 2557 โดยชาวนาในอำเภอหลิงอู่ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยฮุ่ย นับตั้งแต่นั้น นายฉือ ซิง จึงนำทีมจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีนขุดค้นนั้นได้ขุดพบโครงกระดูกทั้งหมดหรือบางส่วนจากไดโนเสาร์ 7-10 ตัว จากนั้นนายฉือและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน และอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน พิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาครอบคลุมทุกด้านของฟอสซิลอายุ 174 ปีดังกล่าวในนิตยสารเนเจอร์ พร้อมกับภาพวาดจำลองรูปร่างหน้าตาของไดโนเสาร์ชนิดนี้

 

 

นายฉือตั้งชื่อไดโนเสาร์ที่พบว่า หลิงอู่หลง เฉินฉี  – Lingwulong shenqi หมายถึง มังกรมหัศจรรย์แห่งหลิงอู่  บุคลิกลักษณะของกระดูกที่แตกต่างกันหลากหลายเป็นหลักฐานว่า ไดโนเสาร์มาจากตระกูลไดโพลโดคอยด์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของซอโรพอดคอยาว  แต่หลิงอู่หลงตัวเล็กกว่ารวมถึงมีคอสั้นกว่า วัดได้ 11- 17 เมตร และมีหางยาว แข็งแรง แขนขาอ้วนสั้น

 

 

ก่อนหน้านี้นักบรรพชีวินวิทยาตั้งทฤษฎีว่า ในยุค มหาทวีปแพนเจีย ทะเลกว้างใหญ่เป็นพื้นที่ขวางกั้นพวกไดโพลโดคอยส์ซึ่งอยู่ทางซีกโลกเหนือไม่ให้ข้ามมายังฝั่งทวีปเอเชีย แต่การพบฟอสซิลครั้งนี้หักล้างทฤษฎีดังกล่าว “ข้อเท็จจริงที่ว่ามันอยู่ในจีนนั้นสำคัญ เพราะเราคิดว่าสัตว์เหล่านี้ไม่เคยมาเอเชีย” นายฟิลิป แมนเนียน นักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนกล่าว และว่าบางทีทะเลภายในอาจเป็นอุปสรรคเพียงน้อยนิดกว่าที่เราเคยคิด หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อไดโพลโดคอยด์ตามฤดูกาล