กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการประกาศสภาพอากาศว่าให้ประชาชนระมัดระวังภัยจากฝนตกสะสมหนักและน้ำท่วมฉับพลัน หลังจากทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 6 – 9 ส.ค. นี้ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ที่ฝนจะตกหนัก
แน่นอนจากการพยากรณ์คาดการดังกล่าว ต้องส่งผลทำให้ช่วงนี้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นไปด้วย ดังนั้นวันนี้ทางทีมข่าว MThai จะพาไปตรวจสอบปริมาณน้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศ ว่ามีที่ไหนที่อยู่ในขั้นวิกฤติ และที่ไหนยังพอรองรับน้ำได้อีกบ้างภาคเหนือ
เขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำอยู่ที่ 7,667 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุเขื่อน
เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 6,324 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 67% ของความจุเขื่อน
เขื่อนแควน้อยฯ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 275 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 29% ของความจุเขื่อน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน) มีด้วยกันทั้งหมด 12 เขื่อน แต่ที่น่าห่วงที่สุดเป็นเขื่อนน้ำอูน ที่อยู่ในเกณฑ์เกินความจุเขื่อนแล้ว โดยมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 528 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 101% ของความจุเขื่อน
ส่วนเขื่อนใหญ่อย่าง เขื่อนลำปาว มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 1,262 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 64% ของความจุเขื่อน
เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 785 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 32% ของความจุเขื่อน
เขื่อนสิรินธร มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 1,094 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุเขื่อน
ภาคกลาง
เขื่อนป่าสักฯ ยังมีน้ำไม่มากโดยมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 229ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 24% ของความจุเขื่อน
ขณะที่ภาคตะวันตก เป็นภาคที่มีปริมาณน้ำมากที่สุดในช่วงนี้
โดย เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 15,339 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 86% ของความจุเขื่อน
เขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 7,403 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 84% ของความจุเขื่อน
ภาคตะวันออก เขื่อนแต่ละเขื่อนยังสามารถรองรับได้ปริมาณมาก ซึ่งเขื่อนขุนด่านปราการชล ที่ จ.นครนายก มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 151 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 68% ของความจุเขื่อน
และภาคใต้ เป็นอีกภาคที่มีปริมาณน้ำมากเช่นกัน โดยเขื่อนที่อยู่ในขีดสีแดงคือเขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 690 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 97% ของความจุเขื่อน
เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 308 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุเขื่อน
เขื่อนรัชชประภา มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 4,403 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 78% ของความจุเขื่อน