เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ในงานพระราชพิธีสุดยิ่งใหญ่ ในวันที่ 26 ที่ผ่านมานั้น เชื่อว่าคนไทยคงจะได้เห็น และได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อย่างมากมาย และอีกหนึ่งเรื่องที่สดุดตาอย่างมากกับภาพความพร้อมเพรียง เป็นระเบียบ ของทหารเหล่าต่าง ๆ ที่ได้ร่วมเดินในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ และความงดงามของชุดทหารเหล่าต่าง ๆก็แตกต่างกันไปตามสีของเหล่าทัพนั้น ๆแต่ที่จะคล้ายคลึงกันและอาจจะเป็นที่สงสัยว่ากระเป๋าที่คาดอยู่ข้างหลังของทหารแต่ละนายนั้นคือกระเป๋าอะไร เอาไว้ทำอะไร

วันนี้เลยมีความรู้ในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ ซึ่งกระเป๋าคาดใบเล็ก ลวดลายสวยงามนั้น คือ แหนบคันชีพ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

แหนบคันชีพ-4

แหนบคันชีพถือได้ว่าเป็นของที่ระลึกส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมีการเรียกขานอย่างเต็มว่า “ แหนบหรือเข็มรูปกระเป๋ากระสุนคันชีพ เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ” และคำว่า คันชีพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Gun Chief ” นั้นก็หมายความถึง กระเป๋าสำหรับใส่กระสุนปืนของทหาร นั่นเอง

แหนบ-1

การพระราชทาน แหนบคันชีพ นั้นเริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดยพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จำลองรูปแบบตัวกระเป๋ากระสุนคันชีพ ออกมาเป็นแหนบคันชีพฯ เพื่อพระราชทานเป็นของที่ระลึกส่วนพระองค์ แก่นายทหารมหาดเล็กชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น โดยในครั้งแรกผู้เข้ารับพระราชทานยังเป็นเจ้าฟ้าเพียงไม่กี่พระองค์ ถัดจากนั้นมาการพระราชทาน แหนบคันชีพ จึงเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ อันเป็นวันครบรอบ ๘๕ ปีแห่งการสถาปนากรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ทางกรมฯ จึงจัดให้มีพิธีสวนสนามของทหารมหาดเล็กฯ ขึ้น ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า (พิธีสวนสนามเมื่อครั้งนั้นมีหน่วยที่เข้าสวนสนามเพียงหน่วยเดียวคือ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ) ต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภายหลังเสร็จสิ้นพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้พระราชทาน แหนบคันชีพ แก่ผู้แสดงและผู้ช่วยเหลือในงานวันราชวัลลภดังกล่าว แก่นายทหารมหาดเล็กระดับนายพลขึ้นไป กระทั่งในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนากรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด ณ สโมสรกองทัพบก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน ซึ่งงานในครั้งนั้นได้สำเร็จลุล่วงลงด้วยดีจากข้าราชการหลายฝ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จำลองแหนบขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแหนบคันชีพ-2

พระราชทานให้กับผู้มีเกียรติที่ทำคุณประโยชน์ต่อกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ทั้งยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กับทหารมหาดเล็กตั้งแต่ยศว่าที่ร้อยตรีขึ้นไปอีกด้วย และหลังจากปี พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ เป็นผู้มีสิทธิในการพิจารณามอบแหนบคันชีพแต่เพียงผู้เดียว โดยมีหลักเกณฑ์คือ บุคคลผู้นั้นต้องมีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ โดยตรง หรือทำประโยชน์ให้กับกองทัพบกและประเทศชาติ ประการสุดท้าย บุคคลผู้นั้นจะต้องมีเกียรติสูงพอ และมีฐานะมั่นคงที่จะรักษาคุณค่าของแหนบคันชีพนี้ไว้ได้

แหนบคันชีพ-3

สำหรับการประดับแหนบคันชีพนั้น สามารถประดับได้กับเครื่องแบบทุกชนิด ตั้งแต่ชุดปกติ จนถึงเครื่องแบบเต็มยศ เว้นแต่ชุดฝึก สำหรับเครื่องแบบให้ประดับไว้ที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้ายชิดขอบกระเป๋าเสื้อด้านบน โดยให้สังเกตว่า ขอบด้านขวาของกระเป๋ากระสุนคันชีพต้องชิดกับขอบกระเป๋าเสื้อด้านขวา ส่วนสุดสากลนิยม, ชุดพระราชทาน ซึ่งไม่มีกระเป๋าเสื้อนั้น ก็ให้ประดับที่กระเป๋าบนด้านซ้ายให้เข็มกลัดลง โดยสังเกตให้ขอบกระเป๋าของแหนบคันชีพ ด้านล่างอยู่ชิดขอบเสื้อด้านขวา สำหรับเครื่องแบบข้าราชการที่มีกระเป๋าเสื้อแบบของสุภาพบุรุษ ให้ประดับแหนบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสุภาพบุรุษ แต่หากไม่มีกระเป๋าเสื้อ ก็ให้ประดับที่สาบเสื้อด้านบนซ้าย ในส่วนของเครื่องแบบที่ติดกระดุมคอเสื้อ ให้ประดับไว้ระหว่างกระดุมเม็ดบนและเม็ดที่หนึ่ง สำหรับสุภาพสตรีนั้น สามารถประดับแหนบคันชีพได้ทุกชุดที่เห็นว่าเหมาะสม โดยประดับไว้ที่ตำแหน่งบริเวณเสื้อส่วนบนด้านซ้าย

ที่มา – kaijeaw