วิธีรับคืน “เงินประกันสังคม” อย่าปล่อยให้หายไป
กองทุนเงินทดแทน ถือว่าเป็นก้าวแรกของประกันสังคมไทย ที่ทำให้เหล่าลูกจ้างได้มีหลักประกันในชีวิต ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2515 ซึ่งหลายคนคงรู้ว่าประกันสังคมตรงนี้นั้น สามารถคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย และตาย ได้ด้วย แต่บางคนแทบจะไม่รู้เลยว่า เงินประกันสังคม ที่เราจ่ายกันทุกเดือนนั้น เขาบังคับหัก 5% เพื่อเก็บเป็นเงินออมให้เราอีกด้วย โดยเราจะได้อะไรจากเงินออมตรงนั้น ลองไปดูกันดีกว่าครับ
1. จ่ายไม่ครบ 1 ปี เกิน 10 เดือน
จะได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ
เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท
2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ ไม่ถึง 15 ปี
จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จ
เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้เงินส่วนที่นายจ้างสมทบให้ด้วย เช่นหากจ่ายไปแล้ว 7 ปี เท่ากับ 84 เดือน
ก็จะสามารถรับคืนได้ 450 บาท (ส่วนตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท
3. จ่าย 15 ปีขึ้นไป
จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญ-ชราภาพ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
3.1 หากจ่ายครบ 15 ปีเต็ม
จะได้รับรายเดือน 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย โดยจะได้รับทุกเดือนตลอดชีวิต
3.2 หากสมทบมากกว่า 15 ปี
จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เป็นจำนวน 5 ปี และบวกกับ 20% ของค่าเฉลี่ยเงินเดือน ตามข้อ 3.1 โดยจะได้รับทุกเดือนตลอดชีวิตเช่นกัน
***********************