เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ม.มหิดล จับมือ มจธ.

เรื่องความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

ด้านวิชาการและวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์  เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมด้าน

วัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ ระหว่าง

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล และ    รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เตีย ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหา

วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี

 

พิธีลงนามความร่วมจัดขึ้นเมื่อวันที่11 ธันวาคม 2561 ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์  วัฒนาภาคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทาง

การแพทย์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ที่จะช่วยกันสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาน

วัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวม

ของวงการแพทย์ไทยในระดับสากล และส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของคนภายในประเทศต่อไป

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ที่จะทำให้องค์ความรู้แล

ะผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ ขยายผลออกไปในวงกว้าง รวมถึงร่วมมือวิจัยและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ

ซึ่งผลที่ได้ จะเป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขของประเทศ ดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน เป็นอีกหนึ่ง

ความสำเร็จสู่สาธารณสุข ๔.๐ ตามยุทธศาสตร์ชาติ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้โดยสำเร็จ

สมบูรณ์ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ (ที่ 2 จากซ้าย)อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมทีมวิจัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด

 

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.

หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาดกล่าวว่า ครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการทำงานวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน

ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ที่มีความเข้มแข็งทั้งคู่ เรามองเห็นปัญหาเดียวกัน และ

ทราบว่าการวิจัยเพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ใช้เองนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจทำให้สำเร็จในวันนี้

ก็จะไม่สามารถเกิดการแข่งขันได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยนี้ก็คือประชาชนชาวไทยจำนวน

มากที่ยังต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภาครัฐฯในเรื่องของการรักษาพยาบาล ผมมั่นใจว่าการร่วมมือในครั้งนี้

เราจะได้ใช้ความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของเราในเรื่องของวัสดุฉลาด นำมาใช้ประโยชน์ในการ

ออกแบบพัฒนาอุปกรณ์สายสวน

โดยตอนนี้เริ่มจากขดลวดค้ำยันสำหรับลากลิ่มเลือดให้กับผู้ป่วยโรคสมองที่มีจำนวนมากในประเทศ

ไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาการออกแบบให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ มีความน่าเชื่อถือ มีราคาถูก ผลัก

ดันให้ภาครัฐฯสามารถเบิกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไปได้ และถ้าทำสำเร็จ ก็จะเห็นสิ่งที่ตามมาอีก เพราะเทค

โนโลยีดังกล่าว สามารถประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์รักษาชนิดสายสวนหลายๆประเภท ซึ่งปัจจุบันที่ทำอยู่นั้น

ก็มีอย่างเช่น อุปกรณ์อุดรอยรั่วหัวใจสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรั่ว อุปกรณ์เจาะผนังหัวใจสำหรับผู้ป่วยโรคความ

ดันหัวใจ อุปกรณ์ถ่างค้ำยันหลอดอาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหาร อุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพอง

เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ที่กล่าวมานั้น ไม่มีการผลิตในประเทศไทย และมีราคาแพง งานวิจัยครั้งนี้จึงถือว่ามี

ความสำคัญกับประเทศชาติมาก และสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เราทำงานวิจัยนี้ได้ คือความตั้งใจอย่างเข้มแข็งของ

ทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมวิศวกร ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ท้าทายของประเทศไทยมาก

ความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัยพัฒนา สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และ

ประสบการณ์ในด้านวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย และเศรษฐกิจ

ซึ่งจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ที่ทรงห่วงใยสุขภาพของพสกนิกรในพระองค์ไว้ว่า “ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถ พัฒนาชาติได้

เพราะประชากรเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในเคลื่อนประเทศไทย” ดังนั้นทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดลคาดหวังว่าความร่วมมือระหว่างสองสถาบันจะช่วยสร้างสรรค์

ผลงานในเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองและเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน

ประเทศไทยนำไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพวกเราทุกๆคน

 

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล และ  รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เตีย ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระว่าง คณะแพทยศาสตร์

ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

   จากซ้าย รศ.ดร.นพ.ฑิตพงษ์ ส่งแสงและ รศ.ดร.ไพรัช สายวิรุณพรทีมแพทย์จากภาควิชารังสีวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

   นายณรงค์เดช สุรัชนีนพดลนักวิจัยนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด(Smartlab) มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ (ซ้าย) อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด

   รศ.ดร.นพ.ฑิตพงษ์ ส่งแสง (ขวา) ทีมแพทย์จากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ทีมงานนักวิจัย

รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด(Smartlab) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี ได้ออกแบบทางวิศวกรรมและผลิตต้นแบบอุปกรณ์ผ่าตัดเล็ก (minimal invasive surgery)

ร่วมกับทีมแพทย์จากโรงพยายาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รศ.ดร.นพ. ฑิตพงษ์ ส่งแสง, รศ.ดร.ไพรัช

สายวิรุณพร, ศ.ดร.นพ. กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล และ ผศ.ดร.นพ. ประคัลภ์ จันทร์ทอง เป็นที่ปรึกษาด้าน

โจทย์วิจัย, เทคนิคการใช้งานอุปกรณ์ผ่าตัดเล็ก (Minimal invasive surgery) รวมทั้งทดลองใช้อุปกรณ์ต้นแบบ

กับอาจารย์ใหญ่ ความร่วมมือนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาการด้านการศึกษา ระหว่างแพทย์

และวิศวกร ทำงานวิจัยไม่หยุดอยู่ที่ห้องปฏิบัติการ แต่จะพัฒนาต่อไปสู่ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจในประเทศไทย และเพิ่มโอกาสในการรักษาแก่ผู้ป่วย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา

ที่ยั่งยืนและมีคุณภาพต่อไปในอนาคต

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ หน่วยงานการสื่อสารองค์กรและงานวิจัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทร. 0 2470 8415-6

โสภิณ ลิ้มวิไลกุล (พอลล่า) 083 189 8886 กรรณิการ์ ส่องจ้า (แจน) 084 071 6688

 

********************

(ขอขอบคุณเรื่อง พี่เอก AE)